หลายคนเคยพูดว่า ธุรกิจอสังหาฯ ปล่อยเช่า ธุรกิจหอพัก ธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ เป็นธุรกิจที่สบายเหมือนเสือนอนกิน ไม่ต้องทำอะไรก็ได้เงิน แต่อย่าลืมว่าก่อนจะได้เงินก็ต้องมีการลงทุน ต้องมีการดูแลอีกหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น บิลค่าเช่าห้อง บิลค่าน้ำค่าไฟที่ต้องทำทุกๆ เดือน รวมถึงในแต่ละปียังต้องเสียภาษีหอพักต่างๆ อีกด้วย 

วันนี้จะพาไปดูว่า ธุรกิจอสังหาฯ ปล่อยเช่า ธุรกิจหอพัก ธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ จะต้องเสียภาษีหอพักอะไรบ้าง แล้วระหว่าง ภาษีบุคคลธรรมดา และ ภาษีแบบนิติบุคคลแตกต่างกันยังไง?

ธุรกิจอสังหาฯ ปล่อยเช่า ธุรกิจหอพัก ธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ ต้องเสียภาษีหอพักอะไรบ้าง?

  • ภาษีเงินได้

เป็นภาษีทางตรงที่เรียกเก็บจากคนที่มีรายได้ โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายหรือการให้บริการ เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการจะต้อง เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากผู้เช่าพร้อมออกใบกำกับภาษี รวมทั้งจัดทำภาษีซื้อ ภาษีขายและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกรมสรรพากรด้วย

  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เป็นอัตราการเก็บภาษีจากการเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะขึ้นอยู่กับการทำประโยชน์บนที่ดินนั้นๆ คำนวณได้จากมูลค่าของฐานภาษี x อัตราภาษี

  • ภาษีป้าย

สำหรับธุรกิจหอพัก ธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ ที่มีการติดตั้งป้ายเพื่อโฆษณาจะต้องเสียภาษีป้ายด้วย ซึ่งภาษีป้ายจะคิดจากขนาดของป้ายใช้ ด้านกว้างสุด x ด้านยาวสุด สำหรับป้ายที่มีขอบเขตชัดเจน แต่ป้ายที่ไม่มีขอบเขตชัดเจนให้นับจากขอบเขตของตัวอักษรที่อยู่ริมสุด

  • ภาษีอากรแสตมป์

อากรแสตมป์ เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่ง ซึ่งสัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะต้องติดอากรแสตมป์ โดยอัตราภาษีจะอยู่ที่อากรแสตมป์ 1 บาท ต่อ มูลค่าสัญญาเช่า 1,000 บาท

ภาษีบุคคลธรรมดา vs ภาษีแบบนิติบุคคล

อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า ภาษีเงินได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือภาษีบุคคลธรรมดาและภาษีแบบนิติบุคคล ซึ่งมีวิธีคำนวณที่แตกต่างกัน

ภาษีบุคคลธรรมดา

จะคำนวณจาก อัตราภาษี x เงินได้สุทธิ (รายได้ทั้งหมด ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน)  หรือ เงินได้พึงประเมิน (0.5% x รายได้) ซึ่งจะเปรียบเทียบกันและเลือกเอาภาษีที่คำนวณได้สูงกว่า ภาษีบุคคลธรรมดาจะเสียอยู่ที่ 5-35% โดยใช้เกณฑ์เงินสดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ คือหากมีการรับเงินจะถือเป็นรายได้ทันที

ภาษีแบบนิติบุคคล

จะคำนวณจาก อัตราภาษี x กำไรสุทธิทางภาษี ต้องใช้วิธีรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่ประมวลรัษฏากรกำหนดไว้ และมีการจัดทำบัญชีและรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆ ซึ่งภาษีแบบนิติบุคคลจะลดลงมาอยู่ที่ 20% เท่านั้น ใช้เกณฑ์สิทธิ คือคือการรับรู้รายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบบัญชี แม้ว่าจะยังไม่ได้รับเงินหรือยังไม่ได้จ่ายเงินแล้วหรือไม่ก็ตาม

 

ถ้าให้เปรียบเทียบระหว่าง ภาษีบุคคลธรรมดา vs ภาษีแบบนิติบุคคล จะเห็นถึงความแตกต่างในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น ฐานภาษีเงินได้ เกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณ รวมไปถึงวิธีการคำนวณภาษี ซึ่งถ้าลองสังเกตภาษีแบบนิติบุคคลดูเหมือนจะได้เปรียบมากกว่า

 

ธุรกิจอสังหาฯ ปล่อยเช่า ธุรกิจหอพัก ธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ ไม่ใช่เรื่องง่าย หากมี ระบบบริหารหอพัก อพาร์ทเม้นท์ เข้ามาช่วยน่าจะทำให้อะไรๆ ดูง่ายขึ้น สำหรับใครที่ทำธุรกิจเหล่านี้แล้วอยากหาตัวช่วย บริการของ Horganice ก็น่าสนใจอยู่ไม่ใช่น้อยเลย

 

Share via