ในขณะที่ วงการอสังหา กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายรอบด้าน ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวน อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และหนี้ครัวเรือนที่สูงลิบลิ่ว แต่ท่ามกลางปัจจัยลบเหล่านี้ “Gen Z” หรือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1997 – 2012 กำลังจะกลายเป็นกลุ่มประชากรที่ถูกพูดถึงอย่างมาก และถูกจับตามองว่าเป็น “ความหวังใหม่” ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย
แต่แล้วอะไรคือปัจจัยที่ทำให้กลุ่มผู้บริโภค Gen Z กลายเป็นกลุ่มที่น่าสนใจในสายตานักพัฒนาและนักลงทุนกลุ่มอสังหาฯ ที่แม้ว่าวันนี้พวกเขาอาจยังไม่ใช่กลุ่มกำลังซื้อหลักก็ตาม
บทความนี้จะ Horganice จะชวนมาวิเคราะห์เจาะลึกถึงศักยภาพและเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
1. ขนาดของตลาดและศักยภาพในอนาคต
สิ่งแรกที่ทำให้ Gen Z น่าสนใจคือ “ขนาด” ของประชากรกลุ่มนี้ที่กำลังเติบโตและจะก้าวเข้าสู่ช่วงวัยทำงานอย่างเต็มตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งจะเห็นว่ากลุ่มผู้บริโภค Gen Z มีจำนวนไม่น้อย และเมื่อเทียบกับอัตราการเกิดที่ลดลงในปัจจุบัน พวกเขาจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคตอันใกล้
ถึงแม้ว่าวันนี้กำลังซื้อของ Gen Z อาจจะยังไม่มากนัก แต่การที่พวกเขากำลังเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างรายได้ และเริ่มมีอิสระทางการเงินมากขึ้น ย่อมหมายถึงศักยภาพในการเป็นผู้บริโภคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในรูปแบบของการเช่าและการซื้อในระยะยาว
2. ผู้เช่าที่มีกำลังจ่าย “Generation Rent” ที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง
แม้ข้อมูลจาก LWS Wisdom & Solutions และ SCB EIC จะระบุว่า กว่า 66% ของ Gen Z และ Gen Y มีแนวโน้มที่จะ “เช่า” ที่อยู่อาศัยมากกว่าซื้อ แต่นี่กลับเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทให้เช่า โดยผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอจากค่าเช่ารายเดือน ซึ่งแตกต่างจากรายได้แบบครั้งเดียวจากการขาย และการที่ Gen Z ให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิต การเปลี่ยนงานบ่อยครั้ง และความต้องการที่จะทดลองใช้ชีวิตในทำเลที่หลากหลาย ทำให้การเช่าเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของพวกเขาได้ดีกว่าการผูกมัดกับการซื้อ
3. พลังการบริโภคที่ขับเคลื่อนด้วย “ประสบการณ์” และ “คุณค่า”
กลุ่มผู้บริโภค Gen Z ไม่ได้มองหาแค่ที่อยู่อาศัย แต่พวกเขามองหา “ประสบการณ์” และ “คุณค่า” ที่จับต้องได้จากการใช้ชีวิตในพื้นที่นั้นๆ พวกเขาต้องการการมีประสิบการณ์ที่ดี และสิ่งที่จะทำให้พวกเขาได้รับคุณค่ามากที่สุด
อีกทั้งการปรับตัวที่ทำให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ดังกล่าว และหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องการที่จะเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มนี้ ก็จะต้องปรับตัวในด้านการบริการ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เช่าหรือผู้ซื้อ
4. ผู้ใช้งานเทคโนโลยีตัวยง “Digital Natives” ที่คุ้นเคยกับความสะดวกสบาย
ผู้บริโภค Gen Z เติบโตมาในยุคดิจิทัล พวกเขาคือกลุ่ม “Digital Natives” ที่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี แพลตฟอร์มออนไลน์ และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
การทำความเข้าใจในพฤติกรรมนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อ
- การตลาดและการขาย: เข้าถึง Gen Z ผ่านช่องทางออนไลน์ที่พวกเขาสิงอยู่ เช่น โซเชียลมีเดีย, TikTok, YouTube
- การนำเสนอข้อมูล: สร้างประสบการณ์เสมือนจริง เช่น Virtual Tour, AR/VR เพื่อให้ผู้สนใจสามารถสำรวจโครงการได้จากที่บ้าน
- การบริหารจัดการ: พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับผู้เช่า (Tenant App) เพื่ออำนวยความสะดวกในการแจ้งซ่อม ชำระค่าเช่า หรือเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น
ไม่เพียงแค่นั้นกลุ่มผู้บริโภค Gen Z ไม่ได้ยึดติดกับการเป้นเจ้าของกรรมสิทธิ์แบบเดิม จึงทำให้เกิดโอกาสสำหรับนักลงทุนหรือนักธุรกิจ ในการพัฒนาหรือต่อยอดธุรกิจใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์กับผู้บริโภคกกลุ่มนี้มากขึ้น และที่สำคัญจะต้องมีความยืดหยุ่นและมีราคาที่เข้าถึงได้
Gen Z ไม่ใช่แค่ผู้เช่า แต่คืออนาคตของ วงการอสังหา
แม้ว่าวันนี้ Gen Z อาจจะยังไม่ใช่กลุ่มกำลังซื้อหลักในตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเป็นเจ้าของ แต่การมองข้ามกลุ่มนี้คือการพลาดโอกาสครั้งสำคัญ เพราะพวกเขาคือกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อทิศทางของตลาดในอนาคตอันใกล้
การที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องปรับตัวและทำความเข้าใจกลุ่มผู้บริโภค Gen Z อย่างลึกซึ้ง ตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน ไปจนถึงความต้องการ คุณค่าและประสบการณ์ที่พวกเขาจะได้รับ
หากทำความเข้าในในส่วนนี้ได้เป้นอย่างดี จะเป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดและรักษา กลุ่มผู้บริโภค Gen Z ให้กลายเป็นฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน